9/05/2555

การแสดงรองเง็ง


          องเง็ง  เป็นศิลปะเต้นรำพื้นเมืองของไทยมุสลิมในแถบสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนเมืองต่างๆของมาเลเซียตอนเหนือ ล้วนเป็นที่นิยมทั่วไปและแพร่ไปถึงอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการเต้นรำที่มีความสวยงามทั้งลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ ลำตัว และการแต่งกายคู่ชายหญิง
          กล่าวกันว่า การเต้นรองเง็งสมัยโบราณเป็นที่นิยมในบ้านขุนนางหรือหรือเจ้าเมืองในแถบสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ที่บ้านพระยาพิพิธเสนามาตย์ เจ้าเมืองยะหริ่ง สมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ. 2439-2448) มีการฝึกรองเง็งโดยหญิงสาวซึ่งเป็นข้าทาสบริวารฝึกรองเง็ง เพื่อไว้ต้อนรับแขกเหรื่อในงานรื่นเริงหรืองานพิธีต่างๆเป็นประจำ



ผู้เต้นรองเง็งส่วนใหญ่แต่งกายแบบพื้นเมือง โดย
ผู้ชาย   สวมหมวกหนีบไม่มีปีก หรือที่เรียกหมวกแขกสีดำ หรือที่ศีรษะอาจจะสวม ชะตางันหรือโพกผ้าแบบเจ้าบ่าวมุสลิมก็ได้ นุ่งกางเกงขากว้างคล้ายกางเกงขาก๊วยของคนจีน ใส่เสื้อคอกลมแขนยาวผ่าครึ่งอกสีเดียวกับกางเกง ใช้โสร่งแคบๆยาวเหนือเข่าสวมทับกางเกง เรียก ผ้าสิลินังหรือ ผ้าซาเลนดังมักทำด้วยผ้าซอแก๊ะ ถ้าเป็นเจ้านายหรือผู้ดีมีเงินมักเป็นผ้าไหมยกดอกดิ้นทองดิ้นเงิน ฐานะรองลงมาใช้ผ้าไหมเนื้อดีตาโตๆ ถัดมาเป็นผ้าธรรมดา
ผู้หญิง  ใส่เสื้อเข้ารูปแขนกระบอก เรียกเสื้อ บันดงลักษณะเสื้อแบบเข้ารูปปิดสะโพก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมทองเป็นระยะ สีเสื้อสดสวยและเป็นสีเดียวกับ ผ้าปาเต๊ะยาวอหรือ ผ้าซอแก๊ะ”  ซึ่งนุ่งกรอมเท้า นอกจากนั้นยังมีผ้าคลุมไหล่บางๆสีตัดกับเสื้อที่สวม